Large Rainbow Pointer

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กฎทรงมวล


    คำนวณหามวลของสารจากปฏิกิริยาโดยใช้กฎทรงมวล
นิยามกฎทรงมวล
ในปี ค.ศ.  1774  ลาวัวซิเอร์  นักเคมีชาวฝรั่งเศส  ได้ทำการทดลองเผาเมอร์คิวรี (II) ออกไซด์ (HgO)
ซึ่งเป็นของแข็งในภาชนะปิด
  พบว่าได้ปรอทและแก๊สออกซิเจน  จากการศึกษา
  “มวลของ HgO  เท่ากับผลบวกของ  Hg  กับ  O2”  จึงได้สรุปเป็นกฎทรงมวลว่า
 “ในปฏิกิริยาเคมีใดๆ มวลของสารทั้งหมดก่อนทำปฏิกิริยาเท่ากับมวลของสารทั้งหมดหลังทำปฏิกิริยา

ตัวอย่าง   ( 1 )   ปฏิกิริยา     A   +    B          --->    C   +   D
ตามกฎทรงมวลจะได้ว่า  (มวลของ A) + (มวลของ B) = (มวลของ C) +  (มวลของ D)

             ( 2 )   ปฏิกิริยา    2Mg   +  O2        --->           2MgO
ตามกฎทรงมวลได้ว่า  (มวลของ Mg)  + (มวลของ O2) =  (มวลของ MgO)

 ดังนั้น  ในทางปฏิบัติ  ข้อมูลจะเป็นไปตามกฎทรงมวลได้ต้องทำการทดลองในระบบปิดเท่านั้น 
ในกรณีที่มีแก๊สเกี่ยวข้องในระบบด้วยนั้นจะต้องทำการทดลองในภาชนะปิดฝา  จึงจะได้ผลตามกฎทรงมวล

วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การดุลสมการเคมี


ขั้นที่ ๑     มองหาธาตุที่มีในสารชนิดเดียวในสมการทั้งสองฝั่ง และกำหนดสัตส่วนของสารทั้งสองฝั่งนั้น

ขั้นที่ ๒     สร้างสมการจำนวนอะตอมของธาตุที่ปรากฎหลายสารจนครบ

ขั้นที่ ๓     สร้างสมการประจุ และอื่นๆ (ถ้าอยากให้มีอีก)

ขั้นที่ ๔     แก้สมการ หาสัดส่วนของแต่ธาตุ(อย่าลืมว่าทำอย่างต่ำด้วยนะ)   จะใช้วิธีใดก็ได้ แล้วแต่ละกัน อาจจะ ULDecomposition, Cramer's rule, Gauss-Jordan elimination หรือ หาอินเวิร์ส